หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2563)

 

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย        หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม

ภาษาอังกฤษ    Doctor of Philosophy Program in History of Architecture

 

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็มภาษาไทย          ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม)

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ      Doctor of Philosophy (History of Architecture)

ชื่อย่อภาษาไทย           ปร.ด. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม)

ชื่อย่อภาษาอังกฤษ       Ph.D. (History of Architecture)

  


ปรัชญา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม เน้นการทำวิจัยที่สร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยให้ความสำคัญกับ ความคิดริเริ่มที่มีพื้นฐานมาจากข้อมูลทางประวัติศาตร์ที่ค้นพบใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ในกระบวนการตีความข้อมูล และความเข้มแข็งของวิธีวิจัยที่ใช้ในการศึกษา

 

วัตถุประสงค์

     1. เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมในประเทศไทยและสถาปัตยกรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเน้นสร้างทักษะในการค้นคว้า คิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำเสนอองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยขั้นสูงอย่างเป็นระบบ มีความน่าเชื่อถือ
     2. เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมที่สามารถเชื่อมโยงและตอบสนองต่องานวิชาชีพและวิชาการด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ งานด้านประวัติศาสตร์ศิลปะ โบราณคดี และการอนุรักษ์ปฏิสังขรณ์โบราณสถาน รวมทั้งสื่อประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นต้น
     3. เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมให้สอดคล้องกับนโยบายการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติและหลักสูตรการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมในระดับสากล

 

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1. คุณสมบัติการรับนักศึกษาจำแนกออกตามแผนการศึกษา ดังรายละเอียดต่อไปนี้

แบบ 1.1 วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต

     1) สำเร็จการศึกษาปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัยศิลปากร หรือ
     2) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์หรือดำเนินการให้ผลงานได้รับการตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่มีกรรมการภายนอกร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) อย่างน้อย 1 บทความ ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการดำเนินการหลักสูตรฯ หรือ
     3) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาอื่น โดยมีผลงานในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์หรือดำเนินการให้ผลงานได้รับการตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่มีกรรมการภายนอกร่วมกลั่นกรอง (Peer Review) อย่างน้อย 1 บทความ ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการดำเนินการหลักสูตรฯ

แบบ 2.1 รายวิชา 27 หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า 63 หน่วยกิต

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า

แบบ 2.2 รายวิชา 27 หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า 75 หน่วยกิต

     1) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และมีผลการเรียนดีมาก (เกรดเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3.50) ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการดำเนินการหลักสูตรฯ หรือ
     2) กำลังศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีผลการศึกษามาแล้วอย่างน้อย 27 หน่วยกิต เกรดเฉลี่ย 3.50 ขึ้นไป ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการดำเนินการหลักสูตรฯ

2. มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากร ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2550 ข้อ 7 (ภาคผนวก ก)

3. มีการนำเสนอโครงร่างงานวิจัยประกอบการสมัครเข้าศึกษา

 

โครงสร้างของหลักสูตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2558) แบ่งแผนการศึกษาออกเป็น 3 แผน คือ

แบบ 1.1 วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต

• หมวดวิชาบังคับ (ไม่นับหน่วยกิต) 6 หน่วยกิต
• วิทยานิพนธ์ มีค่าเทียบเท่า 48 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต

แบบ 2.1 รายวิชา 27 หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า 63 หน่วยกิต

• หมวดวิชาพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) 2 รายวิชา 6 หน่วยกิต
• หมวดวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต
• หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
• วิทยานิพนธ์ มีค่าเทียบเท่า 36 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 63 หน่วยกิต

แบบ 2.2 รายวิชา 27 หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า 75 หน่วยกิต

• หมวดวิชาพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต) 2 รายวิชา 6 หน่วยกิต
• หมวดวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต
• หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
• วิทยานิพนธ์ มีค่าเทียบเท่า 48 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 75 หน่วยกิต

 

วันและเวลาที่เรียน

ในวันและเวลาราชการ

 

อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร

แบบ 1.1 และแบบ 1.2   เหมาจ่าย  270,000  บาท

แบบ 2.1                      เหมาจ่าย  315,000  บาท

แบบ 2.2                      เหมาจ่าย  360,000  บาท

*ค่าธรรมเนียมการศึกษายังไม่รวมค่าธรรมเนียมของมหาวิทยาลัย

  

download2563     apply

 

รายละเอียดหลักสูตร