หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสภาพแวดล้อมสรรค์สร้าง
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565)
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสภาพแวดล้อมสรรค์สร้าง
ภาษาอังกฤษ Doctor of Philosophy Program in Vernacular Architecture and Built Environment
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็มภาษาไทย ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสภาพแวดล้อมสรรค์สร้าง)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Doctor of Philosophy (Vernacular Architecture and Built Environment)
ชื่อย่อภาษาไทย ปร.ด. (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสภาพแวดล้อมสรรค์สร้าง)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ Ph.D. (Vernacular Architecture and Built Environment)
ปรัชญา
มุ่งสร้างดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถในการทำงานวิจัยแบบสหวิชาการ และการบูรณาการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่ความเป็นเลิศด้านการวิจัยสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อม
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ มีความสามารถ และมีจริยธรรมในการวิจัยเพื่อการหาองค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสภาพแวดล้อมสรรค์สร้าง เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้และทุนวัฒนธรรมไปใช้ประโยชน์ในบริบทสังคมร่วมสมัยได้อย่างเหมาะสม
2. เพื่อสร้างดุษฎีบัณฑิตที่มีทักษะศตวรรษที่ 21 และฝักใฝ่การแสวงหาความรู้ (Life Long Learning) ที่เกี่ยวเนื่องกับสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมสรรค์สร้าง
3. เพื่อสร้างดุษฎีบัณฑิตที่มีองค์ความรู้ด้านสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสภาพแวดล้อมสรรค์สร้าง ที่เป็นฐานคิดในการต่อยอดสู่การสร้างสรรค์ ในการพัฒนาวิชาการ และวิชาชีพด้านสถาปัตยกรรม และการออกแบบ
4. เพื่อสร้างดุษฎีบัณฑิตที่มีองค์ความรู้เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐาน สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และสภาพแวดล้อมสรรค์สร้างบนฐานของการเคารพในความหลากหลายทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อประยุกต์สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนอย่างสอดคล้องกับกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1. คุณสมบัติการรับนักศึกษาจำแนกออกตามแผนการศึกษา ดังรายละเอียดต่อไปนี้
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 แบบ 4 แผนการศึกษา คือ
แบบ 1.1 วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต
1) สำเร็จการศึกษาปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น หรือสาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสภาพแวดล้อมสรรค์สร้าง มหาวิทยาลัยศิลปากร หรือ
2) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิตหรือเทียบเท่า ทุกสาขาวิชา และมีประสบการณ์ทำงานหลังจบการศึกษาแล้วอย่างน้อย 4 ปี โดยมีผลงานการวิจัยด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น สภาพแวดล้อมสรรค์สร้าง หรือศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องจนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ
แบบ 1.2 วิทยานิพนธ์ 72 หน่วยกิต
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตหรือเทียบเท่า ทุกสาขาวิชา โดยมีผลคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า 3.5 และมีประสบการณ์ทำงานหลังจบการศึกษาแล้วอย่างน้อย 6 ปี โดยมีผลงานการวิจัยด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น สภาพแวดล้อมสรรค์สร้าง หรือศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องจนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ
แบบ 2.1 รายวิชา 24 หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต หรือเทียบเท่า ทุกสาขาวิชาและมีการทำวิทยานิพนธ์ ทั้งนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ
แบบ 2.2 รายวิชา 24 หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต
1) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต โดยมีผลคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า5 ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ
2) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต และกำลังศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น หรือสาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นและสภาพแวดล้อมสรรค์สร้าง โดยมีผลการศึกษามาแล้วอย่างน้อย 24 หน่วยกิต และมีผลการเรียนเฉลี่ย 4.00 สามารถเสนอขอปรับระดับการศึกษา ทั้งนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ
2. มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือมหาวิทยาลัยศิลปากรกำหนด
3. มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากร ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 ข้อ 6 (ภาคผนวก ก) และ/หรือที่มีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง
ระบบการศึกษา
จัดการศึกษาใช้ระบบทวิภาค มีการจัดการเรียนการสอนภาคการศึกษาพิเศษฤดูร้อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการดำเนินการหลักสูตรฯ
โครงสร้างของหลักสูตร
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2556 แบ่งแผนการศึกษาออกเป็น 4 แผน คือ
แบบ 1.1 วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต
• วิทยานิพนธ์ มีค่าเทียบเท่า 48 หน่วยกิต
• วิชาบังคับ (ไม่นับหน่วยกิต) 12 รายวิชา
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
แบบ 1.2 วิทยานิพนธ์ 72 หน่วยกิต
• วิทยานิพนธ์ มีค่าเทียบเท่า 72 หน่วยกิต
• วิชาบังคับ (ไม่นับหน่วยกิต) 12 รายวิชา
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต
แบบ 2.1 รายวิชา 24 หน่วยกิต
• วิชาบังคับ 9 หน่วยกิต
• วิชาบังคับ (ไม่นับหน่วยกิต) 9 รายวิชา
• วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
• วิทยานิพนธ์ มีค่าเทียบเท่า 36 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 54 หน่วยกิต
แบบ 2.2 รายวิชา 24 หน่วยกิต
• วิชาบังคับ 9 หน่วยกิต
• วิชาบังคับ (ไม่นับหน่วยกิต) 9 รายวิชา
• วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
• วิทยานิพนธ์ มีค่าเทียบเท่า 48 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต
หมายเหตุ
• สำหรับนักศึกษาแบบ 1.2, แบบ 2.1 หรือ แบบ 2.2 ที่ไม่มีพื้นฐานทางสถาปัตยกรรม ต้องลงรายวิชาที่มีการเขียนแบบทางสถาปัตยกรรม
ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการหลักสูตร
วันและเวลาที่เรียน
ในวันและเวลาราชการ
อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร
แบบ 1.1 เหมาจ่าย 225,000 บาท
แบบ 1.2 เหมาจ่าย 360,000 บาท
แบบ 2.1 เหมาจ่าย 270,000 บาท
แบบ 2.2 เหมาจ่าย 315,000 บาท
*ค่าธรรมเนียมการศึกษายังไม่รวมค่าธรรมเนียมของมหาวิทยาลัย
รายละเอียดหลักสูตร