Location

วัดป่าธรรมคีรี (จันดี อนุสรณ์) อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

แนวคิดของ “พระวชิรญาณโกศล” (คม อภิวโร) ที่ต้องการสร้างอุโบสถและเจดีย์สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและเป็นประธานของพื้นที่วัดป่าธรรมคีรี แต่ด้วยข้อจำกัดของพื้นที่ในโครงการซึ่งเป็นพื้นที่ไหลเขา ผู้ออกแบบจึงมีแนวคิดที่จะสร้างชุดองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมใหม่ โดยสร้างเขตพุทธาวาส(อุโบสถ เจดีย์ วิหาร ระเบียงคต) ผ่านชุดองค์ประกอบสถาปัตยกรรมไทยที่คลี่คลายไปสู่พื้นที่ใหม่จากกลุ่มขององค์ประกอบอาคารทางสถาปัตยกรรมไทยประกอบสร้างให้เกิดคุณลักษณ์ใหม่ทางสถาปัตยกรรม “พระอุโบสถ” ในฐานอาคารชั้น 1 ทำหน้าที่เป็นพระอุโบสถสำหรับประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนาโดยมีการกำหนดเขตเสมาไว้เพื่อสร้างปริมณฑลอันศักสิทธิ์ในการทำสังฆกรรมของพระสงฆ์ “พระเจดีย์” บนพื้นอาคารชั้นที่ 2 เป็นลานประทักษิณที่เทินรับธาตุเจดีย์เหลี่ยมย่อมุม ซึ่งเป็นเจดีย์ที่ผสมรูปแบบระหว่างธาตุอิสานและเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมอย่างอยุธยาเพื่อให้สอดรับกับสภาพพื้นที่อำเภอปากช่องซึ่งมีลํกษณะรูปแบบศิลปะและสถาปัตยกรรมแบบ อิสาน-อยุธยาปรากฏอยู่ “พระวิหาร”ประดิษฐานหลวงพ่อศิลาหยก ถูกจัดวางอยู่หน้าแนวแกนประธานเพื่อสร้างแนวแกนและสร้างพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ชั้น 1 และลานชั้นที่ 2 ตัววิหารนอกจากทำหน้าที่ประดิษฐานพระแล้วยังเชื่อมต่อกับบันไดทางขึ้นหลัก โดยออกแบบชุดชั้นหลังคาให้เชื่อมต่อและลดหลั่นชุดหลังคาเพื่อคลุมพื้นที่บันไดจนถึงลานชั้นที่ 1 “ระเบียงคต” ถูกสร้างเพื่อกำหนดขอบเขตของอาคารในมุมมองจากแนวแกน ผู้ออกแบบจัดวางให้อยู่ในส่วนท้ายสุดของอาคารเพื่อทำหน้าที่เป็นฉากของเจดีย์และในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ชั้น1 และชั้นที่2 พื้นที่ภายในใช้งานสำหรับบันไดและระบบลิฟท์ พระอุโบสถเจดีย์จึงเกิดจากการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมไทยจากหลายประเภทอาคารสู่การรวมกลุ่มเป็นชุดอาคารที่ทำหน้าที่เป็น “อุโบสถและเจดีย์”

Stacks Image 241
Stacks Image 238