โครงการพัฒนาโปรแกรมเสริมเพื่อช่วยการเขียนแบบ 2 มิติ

เทคโนโลยีในวงการสถาปัตยกรรมและก่อสร้างมีการพัฒนาไปอย่างมากในช่วง 10 ปีหลังมานี้ เทคโนโลยีรุ่นใหม่ เช่น BIM แม้จะดีอย่างไรก็ตาม ก็มีต้นทุนที่ผู้ใช้ต้องนำไปพิจารณา แต่ส่วนหนึ่งก็ยังคงไม่สามารถรองรับต้นทุนขนาดนั้นได้ และจำเป็นหรือจำยอมที่จะต้องอยู่ในระบบ 2D CAD ต่อไป นั่นคือที่มาของความพยายามที่จะสร้างเครื่องมือช่วยเขียนแบบ เพื่อช่วยกลุ่มคนเหล่านี้ ให้มีเครื่องมือที่ช่วยให้เขาเหล่านั้นทำงานได้สะดวกรวดเร็วขึ้น นอกจากนั้นจะเป็นการศึกษาความต้องการระบบการเขียนแบบ 2 มิติในประเทศไทย และเป็นฐานในการพัฒนาเครื่องมือที่เหมาะสมต่อไป หลักสูตร CAAD ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จึงได้พัฒนาเครื่องมือเสริมต่างๆ ที่จะช่วยให้กระบวนการเขียนแบบสะดวกยิ่งขึ้น ทั้งนี้อยู่บนพื้นฐานที่จะต้องสามารถทำงานได้บนโปรแกรมหลักในบ้านเราตอนนี้คือ AutoCAD, GstarCAD และ ZwCAD

ท่านสามารถ download โปรแกรมเสริมนี้ ไปติดตั้งบนเครื่องของท่านได้ ทั้งนี้เมื่อนเริ่มต้นใช้งานครั้งแรก โปรแกรมจะให้ท่านกรอก email และระบบจะส่งรหัสเพื่อ activate โปรแกรมไปให้ กระบวนการนี้ไม่มีการนำข้อมูลของท่านไปดำเนินการอื่นใด นอกจากทำการบันทึกเพื่อนับจำนวนผู้ใช้จริงเท่านั้น ต้องขอขอบคุณ อ.ธนะพันธ์ อินทรเกสร ผู้ที่พัฒนาส่วนลงทะเบียน online ให้ มา ณ โอกาสนี้

ปัจจุบันนี้ โปรแกรมสามารถทำงานได้บนโปรแกรม AutoCAD 2016 ขึ้นไป และ ZWCAD 2020 ส่วน GstarCAD ในขณะที่ทำการพัฒนา ยังมีปัญหาเรื่อง Annotative block ที่เป็นพื้นฐานของโปรแกรมเสริมนี้ จึงทำให้ใช้ได้กับระบบการเขียนในหน่วย มม. เท่านั้น และ ต้องใช้ Template เริ่มต้นที่เตรียมไว้ให้เท่านั้น (tpcadMMgstar.dwt)

 

ดาวน์โหลดโปรแกรม  |  TPCAD PROGRAM  |  Quickguide  |  readme  |

 


 
พื้นฐานการออกแบบพัฒนาโปรแกรม

(2020-05-20)

 

โปรแกรมนี้สามารถใช้งานได้กับ AutoCAD 2016 ขึ้นไป, ZWCAD 2020, GstarCAD professional 2020 กรณี AutoCAD, ZWCAD สามารถใช้ระบบการเขียนที่หน่วยวัดเป็น มม. หรือ ม. ก็ได้ ส่วน GstarCAD ขณะนี้ สามารถใช้กับระบบการเขียนในหน่วย มม. เท่านั้น และจะต้องใช้ template เริ่มต้นงาน จากที่เตรียมไว้ให้เท่านั้น (tpcadMMgstar.dwt)

1. Dimension ที่โปรแกรมใช้ ต้องเป็นแบบ Annotative

2. กรณีเขียนแบบเป็น เมตร จำเป็นต้องปรับสภาพแวดล้อมของโปรแกรม ดังนี้

2.1 ใช้ template สำหรับ นิ้ว-ฟุต (เช่น acad.dwt)

2.2 scale list ทั้งหมดจะต้องถูกปรับค่าภายในใหม่ เนื่องจาก พื้นที่ของ model เขียนเป็น เมตร ส่วน Layout space เป็น มม. เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ scale popup ในการควบคุม annotative และ scale ของ viewport ได้ถูกต้อง

2.3 กรณีของ dimension แบบ annotative เดิมใน template แบบ นิ้ว-ฟุต จะใช้งานในระบบที่จะเขียนแบบเป็นเมตร ไม่ได้ ต้องเข้าไปปรับแก้ โดยพื้นฐานคือค่าเชิงตัวเลขทั้งหมดต้องเพิ่มขึ้น 10 เท่า

*** สามารถใช้ template ที่โปรแกรมเสริมนี้เตรียมไว้ให้ก็ได้

3. Tag / Symbol ที่เตรียมไว้ให้เป็นแบบ Annotative ทั้งหมด หากมีการเพิ่ม block ของตัวเองเข้าไป ควรเป็นแบบ Annotative เช่นกัน ทั้งนี้ พื้นฐานขนาดของ symbol จะใช้หน่วย mm เป็นหลัก

4. ในส่วนของการทำงานในระบบ AEC ผู้พัฒนาได้ดำเนินการทำระบบเขียนแบบตามมาตรฐานสากล โดบมีการควบคุม layer ที่ใช้เขียน ทั้งนี้ ผู้ใช้สามารถที่จะปรับรายละเอียดการทำงานของโปรแกรม รวมไปถึง layer mใช้ ได้ในโปรแกรม AEC-PRE.LSP ซึ่งเป็น AutoLISP ที่ใช้ในการควบคุมเรื่องต่างๆ นี้

5. การตั้งค่าระยะการทำงาน เช่น ระยะห่างของการวางสุขภัณฑ์ จะอาศัย file ควบคุมคือ TPCAD-M.AEC สำหรับการเขียนเป็นเมตร และ TPCAD-MM.AEC สำหรับการเขียนเป็น มม.

6. ขนาดของการเขียน lift กำหนดเป็นตารางไว้ในแฟ้มข้อมูลชื่อ AEC.LFT สามารถปรับแก้ไขเองได้

7. กรณีใช้โปรแกรมต่างกัน เช่น AutoCAD, Gstar หรือ ZWCAD อาจมีชื่อของ Linetype ที่แตกต่างกัน ดังนั้น ก่อนใช้โปรแกรม ควร setup ค่า ให้เหมาะสม โดยใช้คำสั่ง TPCADSETUP หรือ icon รูปประแจ

7.1 ก่อนตั้งค่านี้ ควร load linetype ที่คาดว่าเราจะใช้งานในโปรแกรมนั้นๆก่อน เพราะโปรแกรมเสริมนี้ จะอ่านค่า linetype ที่ load แล้วเท่านั้น

 


 

หากมีปัญหาในการติดตั้ง สามารถส่งข้อมูลมาได้ที่ผม
ตาม email นี้ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ศาสตราจารย์ ฐิติพัฒน์ ประทานทรัพย์
ผู้พัฒนาโปรแกรม
ประธานหลักสูตรคอมพิวเตอร์เพื่องานออกแบบสถาปัตยกรรม
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Facebook: CAD-BIM Consulting
Youtube channel: Cad-BIM Consulting