Fina
  • ADMISSION ผู้สนใจเข้าศึกษา
  • FOR STUDENTS สำหรับนักศึกษาปัจจุบัน
  • FOR STAFF สำหรับบุคลากร
  • ROOM BOOKING จองห้องเรียน/ห้องประชุม
  • Home
    หน้าหลัก
  • About
    เกี่ยวกับคณะฯ
      • History
        ประวัติคณะฯ
      • Vitual Faculty
      • Faculty Board
        คณะผู้บริหาร
      • Dean's Office
        สำนักงานคณบดี
      • Faculty
        คณาจารย์
          • Architecture
            ภาควิชาสถาปัตยกรรม
          • Architecture and Related Arts
            ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม
          • Architectural Technology
            ภาควิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม
          • Urban Design and Planning
            ภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง
          • Landscape Architecture
            สาขาภูมิสถาปัตยกรรม
          • International Program
            หลักสูตรนานาชาติ
      • Hall of Fame
        ประกาศเกียรติคุณ
      • Annual Report
        รายงานประจำปี
      • Download
        ดาวน์โหลด
      • Contact Us
        ติดต่อเรา
  • Programs
    หลักสูตร
      • Undergraduate Programs
        ระดับปริญญาบัณฑิต
      • Graduate Programs
        ระดับบัณฑิตศึกษา
      • International Programs
        หลักสูตรนานาชาติ
      • Short Courses
        คอร์สระยะสั้น
          • SU4Life
          • Seminar
  • Publication and Media
    สื่อเผยแพร่บริการวิชาการ
      • Students Works
        ผลงานนักศึกษา
      • Thesis / IS
        การเผยแพร่วิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าแบบอิสระ
      • Publication
        บทความวิชาการ หนังสือ เอกสาร ตำราวิชาการ
      • Special Lecture
        บทความและการบรรยายพิเศษ
  • News & Events
    ข่าวสารและกิจกรรม
      • News
        ข่าวสาร
      • Photo Albums
        ภาพกิจกรรม

 

คู่มือปฏิบัติงาน

การติดตั้งและดูแลอุปกรณ์สารสนเทศภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

เขียน: สุเมธ ถาวร

เผยแพร่: 2565

 

 

Architecture & ___: Because architecture is related to everything

“เพราะสถาปัตยกรรมเกี่ยวข้องกับทุกสิ่ง”

สูจิบัตร นิทรรศการสถาปัตย์-ปริวรรต ครั้งที่ 22

นิทรรศการเผยแพร่ผลงานออกแบบและสร้างสรรค์ระดับชาติ เนื่องในวันศิลป์ พีระศรี

จัดแสดงระหว่างวันที่ 15-22 กันยายน 2565

ณ หอศิลปะสถาปัตยกรรมพระพรหมพิจิตร

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ

 

 

พื้นฐาน Visual Programming ด้วย Dynamo Revit

เขียน: ศาสตราจารย์ ฐิติพัฒน์ ประทานทรัพย์

เผยแพร่: กุมภาพันธ์ 2565

 

 2565 thitipat

 

 

คู่มือสำหรับผู้ที่สนใจพื้นฐาน และกระบวนการทำงานของ Visual Programming โดยอาศัย Dynamo ซึ่งทำงานร่วมกับโปรแกรม
Revit เพื่อให้สามารถนำกระบวนการเหล่านี้ ไปใช้ในการทำงานแบบอัตโนมัติ งานซ้ำ งานที่ต้องผ่านการคำนวณต่างๆ รวมไปถึง
การรับส่งข้อมูลระหว่าง Revit กับภายนอก ทั้งในรูปของ Text fileและการเชื่อมต่อกับโปรแกรม Spreadsheet ต่างๆ

 

คำนิยม

ศาสตราจารย์ ฐิติพัฒน์ ประทานทรัพย์ ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้นับว่าเป็นผู้ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ อย่างสูง ด้าน CAD และ BIM มาเป็นเวลานาน ผมเองได้รู้จักท่านตั้งแต่ผมเริ่มนำ Autocad มาสอนที่คณะ สถาปัตยกรรม ศาสตร์ จุฬาฯ และท่านได้เข้าศึกษาระดับปริญญาโทในช่วงนั้น เราได้เรียนรู้และใช้งาน CAD มาด้วยกันตั้งแต่ตอนนั้น และนับแต่นั้นมาท่านได้ศึกษาวิจัยสอนและใช้งาน Autocad, SketchUp, Revit และอื่นๆมาอย่างต่อเนื่องและอย่าง ลึกซึ้ง ผมจึงมีความยินดีเป็นอย่างมากที่ได้ทราบว่าท่านดำริจะเรียบเรียง หนังสือ ”พื้นฐาน Visual Programming ด้วย Dynamo Revit” ขึ้นมา

รศ.ดร.ฐานิศวร์ เจริญพงศ์ (Phd. U. of Pennsylvania)

 

เนื้อหาโดยสังเขป

Visual programming กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกระบวนการทำงานออกแบบ โดยเฉพาะการ
ทำงานกับ BIM application แนวคิดเหล่านี้ จะกลายเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของนักออกแบบต่อไปในอนาคต การ เพิ่มเติมความรู้และประสพการณ์ในการทำงานในรูปแบบของ node จึงเป็นเรื่องสำคัญ หนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนพยายามที่ จะอธิบายถึงหลักการพื้นฐาน วิธีคิด และกระบวนการทำงานกับ Visual programming โดยอาศัยเครื่องมือที่เป็นที่ นิยมในปัจจุบัน คือ Dynamo โดยแบ่งเป็นการทำงานบน Dynamo โดยตรง กับ การทำงานร่วมกับโปรแกรม Revit

 

สารบัญ

- พื้นฐานของ Dynamo
- โครงสร้างของ Dynamo node, Data Type
- พื้นฐานการคำนวณ
- การสร้าง Geometry ด้วย Dynamo
- การทำงานร่วมกับ Revit
- การควบคุมการแสดงผล
- การรับ-ส่ง ข้อมูลกับภายนอก

 

 

  สั่งหนังสือ   ราคา  950  บาท

 

  สั่งหนังสือแบบ Ebook   ราคา  290  บาท

 

 

โครงการพัฒนาโปรแกรมเสริมเพื่อช่วยการเขียนแบบ 2 มิติ

เทคโนโลยีในวงการสถาปัตยกรรมและก่อสร้างมีการพัฒนาไปอย่างมากในช่วง 10 ปีหลังมานี้ เทคโนโลยีรุ่นใหม่ เช่น BIM แม้จะดีอย่างไรก็ตาม ก็มีต้นทุนที่ผู้ใช้ต้องนำไปพิจารณา แต่ส่วนหนึ่งก็ยังคงไม่สามารถรองรับต้นทุนขนาดนั้นได้ และจำเป็นหรือจำยอมที่จะต้องอยู่ในระบบ 2D CAD ต่อไป นั่นคือที่มาของความพยายามที่จะสร้างเครื่องมือช่วยเขียนแบบ เพื่อช่วยกลุ่มคนเหล่านี้ ให้มีเครื่องมือที่ช่วยให้เขาเหล่านั้นทำงานได้สะดวกรวดเร็วขึ้น นอกจากนั้นจะเป็นการศึกษาความต้องการระบบการเขียนแบบ 2 มิติในประเทศไทย และเป็นฐานในการพัฒนาเครื่องมือที่เหมาะสมต่อไป หลักสูตร CAAD ของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จึงได้พัฒนาเครื่องมือเสริมต่างๆ ที่จะช่วยให้กระบวนการเขียนแบบสะดวกยิ่งขึ้น ทั้งนี้อยู่บนพื้นฐานที่จะต้องสามารถทำงานได้บนโปรแกรมหลักในบ้านเราตอนนี้คือ AutoCAD, GstarCAD และ ZwCAD

ท่านสามารถ download โปรแกรมเสริมนี้ ไปติดตั้งบนเครื่องของท่านได้ ทั้งนี้เมื่อนเริ่มต้นใช้งานครั้งแรก โปรแกรมจะให้ท่านกรอก email และระบบจะส่งรหัสเพื่อ activate โปรแกรมไปให้ กระบวนการนี้ไม่มีการนำข้อมูลของท่านไปดำเนินการอื่นใด นอกจากทำการบันทึกเพื่อนับจำนวนผู้ใช้จริงเท่านั้น ต้องขอขอบคุณ อ.ธนะพันธ์ อินทรเกสร ผู้ที่พัฒนาส่วนลงทะเบียน online ให้ มา ณ โอกาสนี้

ปัจจุบันนี้ โปรแกรมสามารถทำงานได้บนโปรแกรม AutoCAD 2016 ขึ้นไป และ ZWCAD 2020 ส่วน GstarCAD ในขณะที่ทำการพัฒนา ยังมีปัญหาเรื่อง Annotative block ที่เป็นพื้นฐานของโปรแกรมเสริมนี้ จึงทำให้ใช้ได้กับระบบการเขียนในหน่วย มม. เท่านั้น และ ต้องใช้ Template เริ่มต้นที่เตรียมไว้ให้เท่านั้น (tpcadMMgstar.dwt)

 

ดาวน์โหลดโปรแกรม  |  TPCAD PROGRAM  |  Quickguide  |  readme  |

 


 
พื้นฐานการออกแบบพัฒนาโปรแกรม

(2020-05-20)

 

โปรแกรมนี้สามารถใช้งานได้กับ AutoCAD 2016 ขึ้นไป, ZWCAD 2020, GstarCAD professional 2020 กรณี AutoCAD, ZWCAD สามารถใช้ระบบการเขียนที่หน่วยวัดเป็น มม. หรือ ม. ก็ได้ ส่วน GstarCAD ขณะนี้ สามารถใช้กับระบบการเขียนในหน่วย มม. เท่านั้น และจะต้องใช้ template เริ่มต้นงาน จากที่เตรียมไว้ให้เท่านั้น (tpcadMMgstar.dwt)

1. Dimension ที่โปรแกรมใช้ ต้องเป็นแบบ Annotative

2. กรณีเขียนแบบเป็น เมตร จำเป็นต้องปรับสภาพแวดล้อมของโปรแกรม ดังนี้

2.1 ใช้ template สำหรับ นิ้ว-ฟุต (เช่น acad.dwt)

2.2 scale list ทั้งหมดจะต้องถูกปรับค่าภายในใหม่ เนื่องจาก พื้นที่ของ model เขียนเป็น เมตร ส่วน Layout space เป็น มม. เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ scale popup ในการควบคุม annotative และ scale ของ viewport ได้ถูกต้อง

2.3 กรณีของ dimension แบบ annotative เดิมใน template แบบ นิ้ว-ฟุต จะใช้งานในระบบที่จะเขียนแบบเป็นเมตร ไม่ได้ ต้องเข้าไปปรับแก้ โดยพื้นฐานคือค่าเชิงตัวเลขทั้งหมดต้องเพิ่มขึ้น 10 เท่า

*** สามารถใช้ template ที่โปรแกรมเสริมนี้เตรียมไว้ให้ก็ได้

3. Tag / Symbol ที่เตรียมไว้ให้เป็นแบบ Annotative ทั้งหมด หากมีการเพิ่ม block ของตัวเองเข้าไป ควรเป็นแบบ Annotative เช่นกัน ทั้งนี้ พื้นฐานขนาดของ symbol จะใช้หน่วย mm เป็นหลัก

4. ในส่วนของการทำงานในระบบ AEC ผู้พัฒนาได้ดำเนินการทำระบบเขียนแบบตามมาตรฐานสากล โดบมีการควบคุม layer ที่ใช้เขียน ทั้งนี้ ผู้ใช้สามารถที่จะปรับรายละเอียดการทำงานของโปรแกรม รวมไปถึง layer mใช้ ได้ในโปรแกรม AEC-PRE.LSP ซึ่งเป็น AutoLISP ที่ใช้ในการควบคุมเรื่องต่างๆ นี้

5. การตั้งค่าระยะการทำงาน เช่น ระยะห่างของการวางสุขภัณฑ์ จะอาศัย file ควบคุมคือ TPCAD-M.AEC สำหรับการเขียนเป็นเมตร และ TPCAD-MM.AEC สำหรับการเขียนเป็น มม.

6. ขนาดของการเขียน lift กำหนดเป็นตารางไว้ในแฟ้มข้อมูลชื่อ AEC.LFT สามารถปรับแก้ไขเองได้

7. กรณีใช้โปรแกรมต่างกัน เช่น AutoCAD, Gstar หรือ ZWCAD อาจมีชื่อของ Linetype ที่แตกต่างกัน ดังนั้น ก่อนใช้โปรแกรม ควร setup ค่า ให้เหมาะสม โดยใช้คำสั่ง TPCADSETUP หรือ icon รูปประแจ

7.1 ก่อนตั้งค่านี้ ควร load linetype ที่คาดว่าเราจะใช้งานในโปรแกรมนั้นๆก่อน เพราะโปรแกรมเสริมนี้ จะอ่านค่า linetype ที่ load แล้วเท่านั้น

 


 

หากมีปัญหาในการติดตั้ง สามารถส่งข้อมูลมาได้ที่ผม
ตาม email นี้ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ศาสตราจารย์ ฐิติพัฒน์ ประทานทรัพย์
ผู้พัฒนาโปรแกรม
ประธานหลักสูตรคอมพิวเตอร์เพื่องานออกแบบสถาปัตยกรรม
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Facebook: CAD-BIM Consulting
Youtube channel: Cad-BIM Consulting

 

 

Collective Adaptation

สูจิบัตร นิทรรศการสถาปัตย์-ปริวรรต ครั้งที่ 20

นิทรรศการเผยแพร่ผลงานออกแบบและสร้างสรรค์ระดับชาติ เนื่องในวันศิลป์ พีระศรี

จัดแสดงระหว่างวันที่ 15-22 กันยายน 2563

ณ หอศิลปะสถาปัตยกรรมพระพรหมพิจิตร

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ

 

More Articles …

  • [2562] ศราวุธ เปรมใจ
  • [2561] ภาควิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม
  • [2561] ต้นข้าว ปาณินท์
  • [2560] ต้นข้าว ปาณินท์
  • 1
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5
Faculty of Architecture, Silpakorn University
  • 31 Na Phra Lan Rd., Phra Nakorn, Bangkok, Thailand 10200
  • Tel: +66 (0) 2221 5877
  • Email: fac-architecture@silpakorn.edu
Today: 54
This Month: 1,553
© 2025 Faculty of Architecture, Silpakorn University. All rights reserved.
Top
  • Home
    หน้าหลัก
  • About
    เกี่ยวกับคณะฯ
    • History
      ประวัติคณะฯ
    • Vitual Faculty
    • Faculty Board
      คณะผู้บริหาร
    • Dean's Office
      สำนักงานคณบดี
    • Faculty
      คณาจารย์
      • Architecture
        ภาควิชาสถาปัตยกรรม
      • Architecture and Related Arts
        ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม
      • Architectural Technology
        ภาควิชาเทคนิคสถาปัตยกรรม
      • Urban Design and Planning
        ภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมือง
      • Landscape Architecture
        สาขาภูมิสถาปัตยกรรม
      • International Program
        หลักสูตรนานาชาติ
    • Hall of Fame
      ประกาศเกียรติคุณ
    • Annual Report
      รายงานประจำปี
    • Download
      ดาวน์โหลด
    • Contact Us
      ติดต่อเรา
  • Programs
    หลักสูตร
    • Undergraduate Programs
      ระดับปริญญาบัณฑิต
    • Graduate Programs
      ระดับบัณฑิตศึกษา
    • International Programs
      หลักสูตรนานาชาติ
    • Short Courses
      คอร์สระยะสั้น
      • SU4Life
      • Seminar
  • Publication and Media
    สื่อเผยแพร่บริการวิชาการ
    • Students Works
      ผลงานนักศึกษา
    • Thesis / IS
      การเผยแพร่วิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าแบบอิสระ
    • Publication
      บทความวิชาการ หนังสือ เอกสาร ตำราวิชาการ
    • Special Lecture
      บทความและการบรรยายพิเศษ
  • News & Events
    ข่าวสารและกิจกรรม
    • News
      ข่าวสาร
    • Photo Albums
      ภาพกิจกรรม