Picture1

Picture2

 

 

การประชุมวิชาการด้านภูมิสถาปัตยกรรม ครั้งที่ 7

(The 7th National Conference on Landscape Architecture 2024 - NCLA 2024) 

วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม 2567

ณ ชาเลนเจอร์ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

 

 

Picture3 

1. เกี่ยวกับ NCLA 2024

“Green Transition: A movement towards sustainable and resilient environment”

การก้าวสู่อนาคตที่ยั่งยืนอย่างสร้างสรรค์ การค้นหาภูมิสถาปัตยกรรมที่ก้าวข้ามแนวทางปฏิบัติแบบเดิม สู่แนวทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจเพื่ออนาคตสีเขียว

สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายวิชาการภูมิสถาปัตยกรรม 10 สถาบันการศึกษา ที่มีการเรียนการสอนในสาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ได้ร่วมดําเนินงานจัดการประชุมวิชาการด้านภูมิสถาปัตยกรรมเป็นประจำทุกปี เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นร่วมกันระหว่างอาจารย์ นักวิชาการ นักศึกษา ผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านภูมิสถาปัตยกรรม และบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ เพื่อร่วมกันเป็นแรงขับเคลื่อนวงการภูมิสถาปัตยกรรมให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นและก้าวสู่อนาคตที่ยั่งยืนอย่างสร้างสรรค์

 

2. กำหนดการ

วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม 2567

ชาเลนเจอร์ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ภาคเช้า เวลา 9.00 - 11.45 น. (ณ TALA Pavilion/เวที TALA)

09.00 - 09.30 น.                      ลงทะเบียน (TALA Pavilion)

09.30 - 09.45 น.                      พิธีเปิดงาน (เวที TALA)

09.45 - 10.45 น.                      บรรยายพิเศษ โดย รองศาสตราจารย์ ดร. รุจิโรจน์ อนามบุตร

10.45 - 11.45 น.                      บรรยายพิเศษ โดย คุณอรรถพร คบคงสันติ

                                                  (TROP : terrains + open space)

ภาคบ่าย เวลา 13.00 - 16.00 น. (ณ ห้อง Jupiter 7 และ 8)

13.00 - 14.15 น.                      การนำเสนอผลงาน (ห้อง Jupiter 7 และ 8)

14.15 - 14.30 น.                      พักรับประทานของว่าง

14.30 - 15.45 น.                      การนำเสนอผลงาน (ห้อง Jupiter 7 และ 8)

15.45 - 16.00 น.                      มอบรางวัลผลงานดีเด่นและปิดการประชุม

หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

 

ลำดับการนำเสนอ ห้อง Jupiter 7

 

เวลา

ผู้นำเสนอ

หัวข้อ

 

13.00 – 13.15 น.

นัฐศิพร แสงเยือน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

งานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมแหล่งฟอสซิลเขาน้อยและป่าพน อุทยานธรณีโลกสตูล

 

13.15 – 13.30 น.

สิรณัฏฐ์ รวิเจริญสิทธิ์
มหาวิทยาลัยศิลปากร

การประเมินและแนวทางความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมของผังมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ โดยใช้เกณฑ์ LEED-ND

 

13.30 – 13.45 น.

วรินทร์ กุลินทรประเสริฐ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้

แนวทางการออกแบบปรับปรุงพื้นที่สวนสาธารณะ เพื่อลดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19

 

13.45 – 14.00 น.

เบญจวรรณ ปานแม้น
มหาวิทยาลัยศิลปากร

กรอบแนวคิดทางสถิติประยุกต์เพื่อศึกษาคุณภาพสวนสาธารณะที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ

 

14.00 – 14.15 น.

กฤตเมธ คงพรหม
มหาวิทยาลัยศิลปากร

สภาวะน่าสบายในพื้นที่เปิดโล่งสาธารณะของผู้ใช้งาน สวนสันติภาพ กรุงเทพมหานคร

 

พักรับประทานของว่าง

 

14.30 – 14.45 น.

ชญานิศ วงศ์พิพัฒน์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปัจจัยที่มีผลต่อภูมิทัศน์วัฒนธรรมเมืองเก่าสงขลาหัวเขาแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

 

14.45 – 15.00 น.

อัมพิกา อำลอย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาชุมชน บ้านนาต้นจั่น

 

15.00 – 15.15 น.

อิษยา ทองเอียด
มหาวิทยาลัยศรีปทุม

องค์ประกอบและเอกลักษณ์ของภูมิทัศน์วัฒนธรรม: กรณีศึกษาชุมชนปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

 

15.15 – 15.30 น.

ณิชา เกษตรเกรียงไกร
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การศึกษาองค์ประกอบทางกายภาพของสวนประวัติศาสตร์สราญรมย์

 

15.30 – 15.45 น.

วชิรวิทย์ เลิศสกุลทอง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การศึกษาองค์ประกอบทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมและภูมิทัศน์นิเวศวิทยาของพื้นที่นาเกลือ จังหวัดเพชรบุรี

 

ลำดับการนำเสนอ ห้อง Jupiter 8

 

เวลา

ผู้นำเสนอ

หัวข้อ

 

13.00 – 13.15 น.

ศุภวัจน์ แก้วขาว
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตรวจสอบด้วยสายตาสำหรับการประเมินความเสี่ยงไม้ยืนต้นขั้นพื้นฐาน: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

 

13.15 – 13.30 น.

พัชรา คงสุผล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาวะเครียดเรื้อรังของไม้ยืนต้นในเมืองอันเนื่องมาจากการออกแบบและก่อสร้างงานภูมิสถาปัตยกรรม

 

13.30 – 13.45 น.

ปวร มณีสถิตย์
มหาวิทยาลัยศิลปากร

การศึกษาแนวทางในอนาคตของระบบเหมืองฝายในลุ่มแม่น้ำ ปิง-กวง จังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน

 

13.45 – 14.00 น.

ธีรภัทร จิโน
มหาวิทยาลัยศิลปากร

แนวทางในการส่งเสริมภูมิทัศน์ตามแนวคิดการปรับตัวเพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบจากนํ้าท่วม

 

14.00 – 14.15 น.

สุพิชฌาย์ เมืองศรี
มหาวิทยาลัยศิลปากร

Let’s Bucket Up – ที่ไหน เมื่อไร และอย่างไร กับการพัฒนาพื้นที่หน่วงน้ำในเมือง

 

พักรับประทานของว่าง

 

14.30 – 14.45 น.

สุชานาถ บุญยะชัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Influence of Coastal Ecosystem on Phytoremediation to Improve Water Quality: A Case Study of the Bangpakong River Basin, Chachoengsao, Thailand

 

14.45 – 15.00 น.

สถาปนา กิตติกุล
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวปรับปรุงสภาพแวดล้อมอย่างมีความรับผิดชอบโดยชุมชนหมู่บ้านหนองครก ตำบลสันทราย อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

 

15.00 – 15.15 น.

หฤษิฎ วงษ์ดารา
สำนักงานนโยบายและ
แผนทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม

กระบวนการวิเคราะห์เพื่อจัดทำแนวทางการจัดระเบียบป้ายเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมภูมิทัศน์เมือง

 

15.15 – 15.30 น.

นันทชัย ไตรรัตน์วงศ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วิถีชีวิตครัวเรือนเกษตรกรผู้ปลูกผักและการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่เกษตรกรรมชานเมืองในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร

 

15.30 – 15.45 น.

สหภพ เปรมสมบัติ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ข้อพิจารณาในการออกแบบสวนสัตว์สมัยใหม่ที่ยืดหยุ่นและยั่งยืน

 

การนำเสนอด้วยโปสเตอร์

 

ผู้นำเสนอ

หัวข้อ

 

กมลวรรณ แสงธรรมทวี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

กระบวนการมีส่วนร่วมในการออกแบบปรับปรุงพื้นที่วัฒนธรรม ชุมชนมอญเสากระโดง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

กิรณา คงสวัสดิ์
มหาวิทยาลัยศิลปากร

แนวทางการออกแบบ Urban Farm เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เกษตรในเมืองอย่างยั่งยืน

 

กุลธิดา บุญโช
มหาวิทยาลัยศิลปากร

โครงการศึกษาเพื่อปรับปรุงพื้นที่เชื่อมต่อการขนส่งสาธารณะใต้สถานีรถไฟฟ้าสะพานตากสิน และสวนสาธารณะใต้สะพานตากสิน

 

ชุติกาญจน์ สังข์ด้วง
มหาวิทยาลัยศิลปากร

การปรับปรุงพื้นที่โรงงานยาสูบเก่า ถนนเจริญกรุง กรุงเทพมหานคร

 

เตชินต์ แซ่ตั้ง
มหาวิทยาลัยศิลปากร

การศึกษารูปแบบการใช้งานและออกแบบปรับปรุงพื้นที่ทางเดินเท้าสาธารณะย่านเยาวราช กรุงเทพมหานคร

 

ธเนศ ฉัตรจุฑามณี
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

การศึกษาบริบทชุมชนโดยแนวคิดภูมินิเวศท้องถิ่น กรณีศึกษา ชุมชนแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม

 

นันทนา ถาวรฟัง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทบาทและการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชุ่มน้ำแก่งน้ำต้อน  อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

 

ภาณุพงศ์ ศิริยานนท์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แนวทางการพัฒนาที่พักอาศัยแนวราบเป็นอาคารสูงสำหรับผู้มีรายได้น้อย เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในโครงการฟื้นฟูเมืองรามอินทรา ระยะที่ 2  ของการเคหะแห่งชาติ

 

สุจินดา แก้วจงประสิทธิ์
มหาวิทยาลัยศิลปากร

การศึกษาการใช้งานพื้นที่และโครงข่ายการสัญจรเพื่อออกแบบ และปรับปรุงพื้นที่รกร้างใต้ทางยกระดับเฉลิมมหานคร ทางออกเพลินจิต กรุงเทพมหานคร

 

3. Book of Abstracts

สามารถดาวน์โหลด Book of Abstracts ของการประชุมในครั้งนี้ได้ ที่นี่ หรือ QR Code นี้

qrAbstracts

 

4. Keynote Speakers

 Picture5

รองศาสตราจารย์ ดร.รุจิโรจน์ อนามบุตร

อาจารย์ประจำสาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม
มหาวิทยาลัยศิลปากร

 
 Picture6

คุณอรรถพร คบคงสันติ

ภูมิสถาปนิก
เจ้าของบริษัท TROP : terrains + open space

 

5. ลงทะเบียน

ผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมวิชาการด้านภูมิสถาปัตยกรรม ครั้งที่ 7 สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้  ที่นี่  หรือ QR Code ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

Picture7.png

 

6. Call for Abstracts

ขอเชิญชวนผู้สนใจส่งบทคัดย่อ (Abstract)

ภายใต้หัวข้อ “Green Transition: A movement towards sustainable and resilient environment"

หัวข้อการนำเสนออาจครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

• การวางแผนและการออกแบบสภาพแวดล้อมอย่างยั่งยืน
• การบูรณาการพลังงานและเทคโนโลยีสะอาดในงานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม
• การประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในการออกแบบสภาพแวดล้อม
• การออกแบบสภาพแวดล้อมที่ช่วยบรรเทาผลกระทบและปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
• การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการฟื้นฟูระบบนิเวศ
• การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ท้องถิ่นในการปรับปรุงสภาพแวดล้อม
• หรือประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง


รูปแบบการนำเสนอ

• นำเสนอผลงานด้วยวาจา (Oral Presentation)
• นำเสนอผลงานด้วยโปสเตอร์ (Poster Presentation)

การส่งบทคัดย่อ

สามารถส่งบทคัดย่อ ความยาวไม่เกิน 300 คำ เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ โดยส่งบทคัดย่อผ่านทาง MS Form

ที่นี่ หรือ QR Code  

Picture4


Key dates

31 มีนาคม 2567 - วันสุดท้ายของการส่งบทคัดย่อ 
12 เมษายน 2567 – ประกาศผลตอบรับการนำเสนอผลงาน
5 พฤษภาคม 2567 - นำเสนอผลงาน

 

7. การส่งผลงานนำเสนอ สำหรับบทคัดย่อที่ได้รับคัดเลือก

นำเสนอผลงานด้วยวาจา (Oral Presentation)

          สำหรับบทคัดย่อที่ได้รับการคัดเลือก ให้ส่งไฟล์นำเสนอ (Presentation file) ในรูปแบบ PowerPoint และ PDF ภายในวันที่ 29 เมษายน 2567 โดยอัพโหลดไฟล์ผ่าน https://wetransfer.com และระบุให้ส่งอีเมลมาที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. ในช่องข้อความโปรดระบุชื่อผู้นำเสนอ หัวข้อนำเสนอ

ผู้นำเสนอมีเวลา 10-12 นาที ในการนำเสนอ และ 3-5 นาทีในการตอบข้อซักถาม

ข้อกำหนดในการเตรียมไฟล์ PowerPoint

• ใช้หน้า PowerPoint ที่มีอัตราส่วนความกว้างต่อความสูงอยู่ที่ 16:9 
• ใช้ตัวหนังสือที่มีความชัดเจนและอ่านง่าย เช่น Arial, Calibri, หรือ Times New Roman สำหรับภาษาอังกฤษ และ Angsana New, Cordia New หรือ TH SarabunPSK สำหรับภาษาอังกฤษและไทย
• ขนาดตัวหนังสือที่แนะนำคือ 18-24 สำหรับข้อความทั่วไป และ 30-40 pt. สำหรับหัวเรื่อง
• ตั้งชื่อไฟล์โดยใช้รูปแบบ “Oral presentation_{หมายเลขบทคัดย่อ}_{ชื่อผู้นำเสนอ}”

 

นำเสนอผลงานด้วยโปสเตอร์ (Poster Presentation)

          สำหรับบทคัดย่อที่ได้รับการคัดเลือก ผู้นำเสนอจะต้องจัดทำโปสเตอร์ขนาด A1 ตามรูปแบบที่กำหนดให้ สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มโปสเตอร์ได้ โดยให้ส่งไฟล์โปสเตอร์ที่จะนำเสนอ ในรูปแบบ PDF ความละเอียด 300 dpi อัพโหลดไฟล์ผ่าน https://wetransfer.com และระบุให้ส่งอีเมล์มาที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. ภายในวันที่ 29 เมษายน 2567 ในช่องข้อความโปรดระบุชื่อผู้นำเสนอ หัวข้อนำเสนอ

          โดยผู้นำเสนอจะต้องจัดพิมพ์โปสเตอร์ขนาด A1 ลงบนกระดาษอัดรูป และติดลงบนแผ่น Future Board ให้เรียบร้อย ส่งมาภายในวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 โดยสามารถนำมาส่งด้วยตนเอง (ที่ชั้น 2) หรือ ส่งพัสดุมาที่...

  สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  
  31 ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200  


ข้อกำหนดในการเตรียมไฟล์โปสเตอร์

• ตั้งชื่อไฟล์โดยใช้รูปแบบ “Poster_{หมายเลขบทคัดย่อ}_{ชื่อแรกผู้ส่งผลงาน}” (โปรดดูหมายเลขจากจดหมายตอบรับ)
• รูปภาพที่นำเสนอต้องมีคุณภาพดี และความละเอียดที่ชัดเจน
• ท่านสามารถเลือกนำเสนอได้ทั้งภาษาอังกฤษ (ENG) หรือภาษาไทย (TH)
• ขนาดตัวหนังสือในส่วนของเนื้อหาไม่ควรต่ำกว่า 18 pt. หากใช้ตัวหนังสือ TH SarabunPSK
• ส่วนชื่อผลงาน และชื่อผู้ส่งผลงานกําหนดให้ใช้ตัวหนังสือ TH SarabunPSK โดยชื่อผลงานให้ใช้ตัวหนังสือขนาด 50 pt. และชื่อผู้ส่งผลงานให้ใช้ตัวหนังสือขนาด 24 pt.
• ส่วน Heading ของโปสเตอร์ไม่อนุญาตให้ปรับเปลี่ยน นอกจากชื่อผลงาน และชื่อผู้ส่งผลงาน
• ให้จัดหน้ากระดาษอยู่ในขนาด A1 (594 x 841 mm) ตามแนวตั้ง มีความละเอียด 300 dpi สามารถดาวน์โหลดไฟล์ Template ได้ ที่นี่

เนื้อหาในโปสเตอร์ควรครอบคลุมประเด็น ดังต่อไปนี้

• ที่มาและความสําคัญของปัญหา
• วัตถุประสงค์
• หลักการและแนวคิด
• ระเบียบวิธีวิจัย/ขั้นตอนการออกแบบ
• ผลการศึกษา/ผลการออกแบบ
• บทสรุป
• รายการอ้างอิง (ถ้ามี)

8. ติดต่อ

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

อัพเดทข้อมูลข่าวสารของการประชุมได้ที่ https://www.facebook.com/LandscapeSU